แบนเนอร์ ในเกม คืออะไร? ทำไมเกมดังๆ ใช้ระบบ กาชา กันหมด
หาพูดถึงคำว่า “แบนเนอร์” (Banner) หลายคนอาจจะนึกถึงป้ายโฆษณา ทั้งบนทางด่วน หรือ ในเกมที่เป็นสี่เหลี่ยมๆ แต่เดี๋ยวนี้คำนี้ไม่ได้หมายถึงป้ายโฆษณา แต่คือหนึ่งในระบบหลักของเกมแนว กาชา (Gacha) ที่ให้ผู้เล่นสุ่มไอเทมหรือคาแรคเตอร์จาก กิจกรรมที่จำกัดเวลา โดยมักมีของลิมิเต็ดที่หาไม่ได้จากที่อื่น เพื่อดึงดูดให้ผู้เล่นใช้เพชร, คูปอง หรือเงินจริงเข้ามาแลก และเกิด In-game purchase ซึ่งเป็นวิธีหารายได้หลักของผู้ผลิตเกมนั่นเอง
แบนเนอร์ในเกมคืออะไร?

ในโลกของเกม โดยเฉพาะเกมมือถือ แบนเนอร์ (Banner) คือชื่อเรียกของ “กิจกรรมสุ่มของลิมิเต็ด” หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ตู้กาชา ที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา เช่น 7 วัน, 14 วัน หรือ 1 เดือน และจะมีการออกข่าวมาเรื่อยๆ ว่าจะมี แบนเนอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เล่นเกมนั้นๆ ติดตามซื้อ และจะมีทั้งในเกมแบบ Pay to Win และ แบบทั้งที่ไม่ใช่ด้วย
ผู้เล่นสามารถสุ่มหรือเปิดของจากแบนเนอร์ได้โดยใช้ทรัพยากรในเกม เช่น เพชร, คูปอง, ตั๋วกาชา หรือเงินจริง เป้าหมายคือ ลุ้นไอเทมหายากหรือคาแรคเตอร์ที่มีโอกาสดรอปต่ำ ซึ่งแบนเนอร์แต่ละรอบจะมีของเฉพาะตัว ไม่มีในตู้ถาวร
ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ทำให้ ผู้ผลิตเกมได้รายได้สูงกว่าเดิม เนื่องจาก จะไม่ใช่การซื้อไอเทม หรือ สกินโดยตรง แต่จะเป็นการสุ่ม และใช้ ค่าเงินในเกม ที่ต้องหาเติมเกมจากนอกเกม เพื่อนำมาใช้นั่นเอง
ประวัติความเป็นมาของระบบแบนเนอร์

ต้นกำเนิดของระบบแบนเนอร์ในเกมย้อนกลับไปได้ถึงช่วงปี 2010 กับเกมกาชาชื่อดังจากญี่ปุ่น เช่น Maple Story (อ้างอิง gamedesignskills.com) หรือ Granblue Fantasy ที่นำเสนอระบบ "Limited Gacha Event" ซึ่งภายหลังแพร่กระจายเข้าสู่เกมจากจีน, เกาหลี และสุดท้ายคือ เกมมือถือระดับโลก อย่าง Genshin Impact หรือ Honkai Star Rail
ปัจจุบัน เกมแทบทุกเกมที่มีระบบกาชาจะมีแบนเนอร์เป็นกลไกหลักในการหมุนเวียนตัวละครใหม่ สกินลิมิเต็ด หรืออาวุธพิเศษ ทำให้ผู้เล่นต้อง วางแผนสะสมทรัพยากรล่วงหน้า ก่อนแบนเนอร์มาถึง และอย่างที่บอกไปคือ เป็นวิธีขายของแบบทางอ้อมของบริษัทผู้พัฒนาเกมแทบทุกค่ายเลยทีเดียว
เกมดังๆ อะไรบ้าง ที่ใช้ระบบ Banner?
ชื่อเกม | ประเภท | ลักษณะของแบนเนอร์ |
---|---|---|
Genshin Impact | Open-world RPG | ตัวละครและอาวุธ 5★ ลิมิเต็ด เปลี่ยนทุก 21 วัน |
Free Fire | Battle Royale | แบนเนอร์สุ่มสกิน, ปืน, หัวขาว, ของตกแต่งแบบ Garena |
Honkai: Star Rail | Turn-based RPG | แบนเนอร์ตัวละครลิมิเต็ดสลับกับอาวุธ |
Racing Master | เกมแข่งรถมือถือ | แบนเนอร์รถลิมิเต็ด เช่น Bugatti, Silvia, Audi |
Valorant | FPS | แบนเนอร์สกินอาวุธพิเศษ สุ่มหรือซื้อในร้านค้าชั่วคราว |
ทำไมระบบแบนเนอร์ถึงเป็นที่นิยม?

อันที่จริงแล้วระบบสุ่ม มันก็มีให้เห็นทั่วไปใกล้ๆ ตัวเรานั่นแหละ เช่น ตู้คีบตุ๊กตา หรือพวก ตู้กาชา ที่ต้องหยอดเหรียญแล้วหมุน แล้วเสี่ยงดวงดู สุ่มดู ว่าจะได้อะไร ซึ่งระบบ Banner หรือ Gacha ก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน โดยมีเหตุผลหลักๆ ที่เป็นที่นิยมประมาณนี้
- เร่งการตัดสินใจของผู้เล่น: เพราะมีเวลาจำกัด ผู้เล่นมักไม่อยากพลาดไอเทมลิมิเต็ด
- สร้างแรงจูงใจในการเติมเงิน: โดยเฉพาะถ้าแบนเนอร์นั้นมีของแรร์
- ทำให้เกมมีคอนเทนต์ใหม่ตลอด: ช่วยให้เกมดูสดใหม่ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน
โดยคำศัพท์ ที่ใช้กับการเปิด banner หรือสุ่มนั้น อาจใช้ต่างกันในหลายๆประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ ต่างประเทศ จะใช้ ศัพท์ เช่น
- Pity: ระบบการันตี เช่น เปิดครบ 20 ครั้ง ได้แน่ๆ
- Rate Up: เพิ่มโอกาสดรอปของบางตัวละครในช่วงแบนเนอร์
- Limited Time: ของจะมีเฉพาะในแบนเนอร์นั้น ไม่มีในอนาคต (หรือมานานๆ ที)
แนวคิดจากเกมเมอร์: คนเล่นเกมชอบ Banner แบบไหน
นอกจากข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแบนเนอร์แล้ว ยังมีเสียงจากชุมชนเกมเมอร์บน Reddit และบทวิเคราะห์จาก Epic Games และ FandomSpot ที่ช่วยขยายความเข้าใจว่า Banner System ที่ดีควรมีอะไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่า ทุกคนอาจชอบระบบสุ่ม แต่ สุ่มแล้วควรต้องได้ของ หรือ ต้องมีการการันตีอะไรซักอย่างในการที่จะได้มาซึ่ง สกิน หรือ ไอเทม นั้นๆ ที่อยากได้
จากกระทู้ r/gachagaming: What's Your Ideal Banner System? เกมเมอร์เสนอว่าระบบแบนเนอร์ที่ดีควรมี:
- การันตีระดับสูง (Hard Pity): ได้ของแรร์แน่นอนหลังเปิดครบจำนวนหนึ่ง เช่น 90 หรือ 100 ครั้ง
- การสะสม Pity ข้ามแบนเนอร์: เช่น Genshin Impact ที่สะสม Pity ต่อได้แม้เปลี่ยนตู้
- มี "Coin Exchange" หรือระบบแลกเป้า: หากเปิดซ้ำเยอะจะสามารถแลกของแรร์ได้ อารมณ์ เหมือนกับว่า คีบตุ๊กตา ถึงไม่ได้ แต่ ถ้าสุ่มไประดับนึง น่าจะได้อะไรกลับมาบ้าง
และหากอ้างอิง ข้อมูล Gacha Games Explained: Banners, Pulls, Pity Systems จาก Epic Games Store อธิบายว่า:
- Pull = การเปิดกาชา 1 ครั้ง
- Multi-Pull = เปิด 10 ครั้งรวด (ส่วนมากราคาดีกว่า)
- Pity System = กลไกที่ช่วยลดดาเมจความดวงกุด เช่น การันตี 5 ดาวในครั้งที่ 90
คือมีการนำเสนอว่าเกมที่ออกแบบแบนเนอร์ดีควรโปร่งใสเรื่องอัตราดรอปและระบบการันตี
และในบทความ What Is A Gacha Banner? เว็บไซต์ FandomSpot อธิบายว่า Banner ในเกมกาชาไม่ใช่แค่เรื่องของการสุ่ม แต่เป็น "วงจรการหมุนเวียนคอนเทนต์" ที่กระตุ้นให้ผู้เล่นกลับมาเล่นอยู่เสมอ ดังนั้น หากอยากให้คนกลับมาเล่น ก็ควรต้องมีอะไรให้คนเล่น ที่จะต้องกลับมาเล่นด้วย และ เสียเงินด้วยเช่น
- แบนเนอร์แบบ Limited มีระยะเวลาจำกัด และของหายาก
- แบนเนอร์แบบ Standard มีให้ตลอด แต่ของไม่แรงเท่า Limited
- บางเกมมีแบนเนอร์แบบ Theme เช่น แบนเนอร์สายไฟท์, แบนเนอร์สายซัพพอร์ต
สรุป: แบนเนอร์ในเกมคือระบบที่ทำออกมาให้ลุ้นและเสี่ยง
สำหรับการสุ่มในเกม อ้างอิงกระทู้ Pantip ซึ่งยังมีการบอกว่ายังคงเป็นความคลุมเครือ ในกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมีผู้ใช้รายหนึ่งบอกว่า ระบบ Gacha หากใช้เงินจริงสุ่มอาจจะไม่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ต้องใช้เงินจริง (เช่นพวก Diamonds หรือ Gems ฯลฯ) มาสุ่มก็อาจไม่เข้าข่ายได้
แบนเนอร์เป็นหัวใจของเกมกาชา และเริ่มขยายไปยังเกมประเภทอื่นเรื่อย ๆ เพราะมันผสมผสานระหว่างความ “ลุ้น” และความ “เร่งด่วน” ได้อย่างลงตัว ใครที่อยากได้ของแรร์ ต้องวางแผน สะสม หรือเติมเงินให้ทันก่อนหมดเวลา
ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นสายดวงดีหรือสายเติม แบนเนอร์คือเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้เกมมีชีวิตชีวา และทุกการคลิกเพื่อสุ่ม คืออีกหนึ่งจังหวะหัวใจของเกมเมอร์ตัวจริง
อ่านต่อ:
รวมคำศัพท์ ย่อๆ ในเกม ที่หลายคนอาจยังไม่รู้
MVP ในเกมคืออะไร มีที่มาจากไหน ทำไม Gamer อยากได้?