หลายคนรู้จักดี แต่อีกหลายคนที่พึ่งเคยเล่นอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังเล่นเกมประเภทนี้อยู่ เกมกาชา (Gacha Game) คือเกมประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงบนแพลตฟอร์มมือถือ โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่ ระบบ “กาชา” (ให้นึกถึงเครื่องบิดตู้กาชาของญี่ปุ่นที่วางอยู่ตามร้านต่างๆ) โดยคนเล่นจะต้องใช้เงินซื้อสกุลเงินในเกมเพื่อไปสุ่ม เพื่อให้ได้ตัวละคร อาวุธ หายาก โดยอาศัยหลักการ RNG ซึ่งเป็นรายได้หลักของเกม แต่ระบบนี้ มีจุดด้อยอยู่ และวันนี้เรารวม จุดที่คนไม่ชอบเกี่ยวกับเกมประเภทนี้
ประวัติของเกมกาชา ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้กันมาก่อน
เกมกาชา จริงๆแล้ว หลายคนก็คิดไม่ผิดเพราะได้เห็นมากับตาแล้ว เพราะมีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศญี่ปุ่น โดยมีรากฐานมาจาก ตู้กาชาปอง (Gachapon) ซึ่งเป็นตู้หยอดเหรียญที่ให้ใส่เหรียญ 500 เยน 1000 เยน หรือ Token เพื่อหมุนรับของเล่นชิ้นเล็กๆ ที่บรรจุอยู่ในลูกบอลพลาสติก คำว่า “กาชา” มาจากเสียง “กะชา” (Gacha) ของการหมุนลูกบิด และ “ปอง” (Pon) คือเสียงที่ลูกบอลตกลงมาในช่องรับของ (อ้างอิง shibuya-stationery.com)
จุดเริ่มต้นของเกมกาชานั้น แรกๆเรียกว่า Kompu Gacha โดยเป็นเกม แกมบังคับให้คนที่เล่นต้องสะสมไอเทมหายากเพื่อเอาไปแลกของที่ดีกว่า ซึ่งภายหลังถูกปรับปรุงให้แฟร์กว่าเดิม โดยมีรายงานวา เกมประเภทนี้เริ่มแพร่หลายตั้งแต่ต้นปี 2010 เป็นต้นมา ยกตัวอย่างเช่น (gamedeveloper.com)
- Puzzle & Dragons เปิดตัวปี 2012 ถือเป็นหนึ่งในเกมแรกๆ ที่ทำให้ระบบกาชาเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดเกมมือถือของญี่ปุ่น และต่อมาก็เป็นที่นิยมไปทั่วโลก
- เกมอื่นๆ ที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นเกมกาชารุ่นแรกๆ ที่เริ่มได้รับความนิยมและมีการใช้ระบบนี้อย่างชัดเจนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น Rage of Bahamut ในปี 2011 และ Kantai Collection เปิดตัวในปี 2013
และนับจากนั้นเป็นต้นมา ผู้ผลิตเกมหัวใส ที่มี passion ในการสร้างเกม ก็เอา ระบบ Gacha มาทำรายได้ให้กับการ ให้เล่นเกมฟรีบนมือถือ โดยมีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว
5 อย่างที่คนเล่นเกมกาชา ไม่ชอบ และไม่อยากให้มี
ก็ต้องเข้าใจว่า เกมมันสนุก แต่ในเมื่อมันเป็นระบบกาชา คนก็ต้องยอมรับที่จะเล่นมัน แต่ก็มีสิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้เอาออก ไม่อยากให้มีต่อๆไปในเกมที่จะออกมาในอนาคต รวมถึงเกมในปัจจุบันด้วย และจากการรวบรวมข้อมูล คนไม่อยากให้มี 5 สิ่งนี้
ไม่อยากให้มีเนื้อเรื่องแบบจำกัดเวลา
นี่คือประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและเป็นที่น่าตกใจสำหรับหลายคน ซึ่งโดยปกติแล้วเนื้อเรื่องหลัก (Main Story) ของเกมควรจะอยู่ถาวรให้ผู้เล่นสามารถเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ แต่บางเกมกาชากลับนำเนื้อเรื่องหลักบางส่วนไปใส่ใน อีเวนต์แบบจำกัดเวลา (Limited Time Event Content) ซึ่งหมายความว่าเมื่ออีเวนต์นั้นจบลง เนื้อเรื่องส่วนนั้นก็จะหายไป ไม่สามารถย้อนกลับไปดูได้อีก เหตุผลคือ
- ผู้เล่นใหม่เสียเปรียบ: ถ้าผู้เล่นใหม่เพิ่งเริ่มเล่นเกมจะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อเรื่องบางส่วนที่ผ่านมาแล้วได้ ทำให้ไม่เข้าใจบริบทหรือลำดับเหตุการณ์ของเรื่องราว
- ขัดต่อความรู้สึก: เนื้อเรื่องหลักควรเป็นแกนหลักของเกม การจำกัดเวลาทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าถูกบังคับให้เล่นอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้พลาด
- ความสับสนด้านลำดับเวลา: บางครั้งเนื้อเรื่องในอีเวนต์จำกัดเวลาก็มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลัก แต่ไม่มีการระบุลำดับที่ชัดเจน ทำให้ผู้เล่นต้องพยายามเล่นเนื้อเรื่องหลักให้จบเร็วๆ เพื่อทำความเข้าใจ event นั้นๆ
กาชาอาวุธ ถอดไปเลยได้มั้ย?
นี่คืออีกประเด็นที่ทำให้คนเล่นเกมกาชา ไม่ค่อยชอบ ถึง ไม่ชอบมากๆ เพราะเกมกาชาหลายเกมแยกกาชาตัวละครและกาชาอาวุธออกจากกัน หมายความว่าต้องสุ่มกาชาถึงสองครั้ง ครั้งแรกเพื่อได้ตัวละครที่ต้องการ และครั้งที่สองเพื่อได้อาวุธประจำตัวที่ดีที่สุดสำหรับตัวละครนั้น ง่ายๆ เลยก็คือ เปลืองเงินสองต่อ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลยคนพุ่งเป้าไปที่เกม Genshin Impact ซึ่งใช้ระบบนี้
Tutorials ที่กดข้ามไม่ได้ รู้สึกรำคาญ
จริงๆแล้วอันนี้เป็นปัญหาจุกจิก ที่น่ารำคาญสำหรับหลายๆคนมาก คือเมื่อเริ่มเล่นเกมใหม่ ผู้เล่นมักจะต้องผ่านการแนะนำเกม คือ Tutorial แต่บางเกมไม่สามารถข้ามได้ แม้ว่าผู้เล่นจะเป็นผู้เล่นเก่าที่รู้อยู่แล้วว่าอะไรทำงานยังไง ซึ่งแบบนี้ทำให้เสียเวลา สำหรับคนที่สร้างบัญชีเกมใหม่ หรือกลับมาเล่นใหม่ซ้ำ
อันนี้ไม่เกี่ยวกับเกม แต่เกี่ยวกับผู้เล่น คือกลุ่มคนเล่น Toxic
ผู้เล่นหลายคนสังเกตเห็นว่ามีการแบ่งแยกและการโจมตีกันเองระหว่างแฟนเกมกาชาด้วยกัน หรือแม้กระทั่งการโจมตีกันภายในกลุ่มแฟนเกมเดียวกันเองด้วย เช่น การโต้เถียงกันในหมู่ผู้เล่นเกมเดียวกันเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การวิจารณ์เกม หรือการไม่เห็นด้วยกับบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งผลที่ตามมาคือ “เลิกเล่” เพราะกลายเป็นกลุ่มเกมดู Toxic เกินไป
ตัวละครหลายตัวซ้ำกันในเรื่องความสามารถ
เข้าใจว่าจะต้องหาตัวละครใหม่เพื่อ ให้คนมาสุ่มกาชา (เติมเกมเพิ่ม ได้รายได้เพิ่ม) แต่ เมื่อผู้เล่นได้รับตัวละครซ้ำ ระบบเกมมักจะชดเชยให้เช่น การเพิ่มพลังให้กับตัวละครนั้น แต่ปัญหาคือในบางเกม การได้ตัวละครซ้ำมีผลค่อนข้างมากกับประสิทธิภาพหรือรูปแบบการเล่นของตัวละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ตัวละครรู้สึกแตกต่างไปจากเดิมแบบชัดๆ หรือทำให้ตัวเลือกในการจัดทีมเปลี่ยนไป
ยกตัวอย่างเช่น เกม Arknights ที่การได้ตัวละครซ้ำเพิ่มค่าตัวเลขเล็กน้อยยังถือว่าพอรับได้ แต่บางเกมกลับเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของตัวละครไปเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เล่นไม่ชอบ
ในประเทศไทย มีเกมกาชา อะไรบ้างที่ดังๆ?

ไม่ใช่ในเฉพาะญี่ปุ่น และ ประเทศอื่นๆ ในประเทศไทย เกมกาชาก็ได้รับความนิยมมากๆเช่นกัน มีเกมหลายเกมที่สามารถทำรายได้จากระบบกาชา และมีฐานผู้เล่นเยอะ โดยเฉพาะเกมจากบริษัทผู้พัฒนาในเอเชียนี่เองแหละ (ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้) ที่มักจะเอาตัวละครสไตล์อนิเมะและเนื้อเรื่องจากการ์ตูนมา collab และใช้เป็นตัวละคร และนี่คือเกมที่ดังในไทย
- Genshin Impact เกมแนว Action RPG Open World
- Honkai: Star Rail มาในรูปแบบ Turn-base RPG (เจ้าของเดียวกับ Genshin)
- Arknights เล่นแบบ Tower Defense + RPG
- NIKKE (GODDESS OF VICTORY: NIKKE): เกมแนว Shooting RPG
- Summoners War เกมแนว Turn-based RPG
- Fate/Grand Order (FGO) เกมแนว Turn-based RPG
- Cookie Run: Kingdom: เกมแนว RPG เช่นเดียวกัน
- Honkai Impact 3rd เกมแนว Action RPG
- Blue Archive: เกมแนว RPG
- Wuthering Waves: เกม Action RPG Open-world น้องใหม่
ทั้งหมดนี้คือประเด็นหลักๆ ที่คนเล่นเกมกาชา ทั้งบนมือถือ และ PC/console ไม่ชอบและไม่อยากให้มีในอนาคต ซึ่งก็อยากส่งเสียงไปยังผู้พัฒนาเกมทั้งหลายว่า คนเล่นส่วนใหญ่ชอบอะไรและไม่ชอบอะไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบประเภทนี้มันอาจทำให้ คนทำเกมมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็อาจได้รับฟีดแบคที่ไม่ดีหลังจากการเปิดตัวก็ได้เช่นกัน
อ่านต่อเนื้อหาน่าสนใจจาก Rechargeland
- ทำไมถึงโดนแบนใน VALORANT?
- เปิดรายได้ VALORANT ล่าสุด แบบละเอียดยิบ
- Delta Force คือเกมอะไร? แล้ว Mandelbricks คือใคร?
- Particle ใน RoV คืออะไร? ทำไมบางคนถึงใช้ไม่เป็น
- UID เติมเกมคืออะไร? สำคัญแค่ไหนเวลาเติมเกม
- 10 เรื่องสนุกที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ Free Fire
- เกมมือถือประเภท Free to Play ถ้ามีเงิน ควรเติมเกมตอนไหนดีนะ?